วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

ภาพรวม ระบบลำเลียงแสงและสถานีทดลอง

ภาพรวม ระบบลำเลียงแสงและสถานีทดลอง
ระบบลำเลียงแสง (Beamline) เป็นกลุ่มอุปกรณ์ที่นำส่งแสงซินโครตรอนจากวงกักเก็บอิเล็กตรอนไปยังสถานีทดลอง ระบบลำเลียงแสงโดยทั่วไปประกอบด้วยท่อสุญญากาศ (vacuum tube)  กระจกรวมแสง (collimating mirror) ระบบคัดเลือกพลังงานแสง (monochromator)  กระจกโฟกัสแสง (focusing mirror) ระบบสลิต (slit system) และอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับการปรับแต่งลักษณะแสงให้ได้ตามความต้องการของเทคนิคเฉพาะนั้นๆ
ระบบลำเลียงแสงแต่ละระบบถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับเทคนิคการทดลองเฉพาะด้าน ปัจจุบันห้องปฏิบัติการแสงสยามมีระบบลำเลียงแสง  9 ระบบ ทั้งที่เปิดให้บริการแล้ว ที่อยู่ระหว่างการทดสอบใช้งาน และที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ดังนี้
BL2.2: SAXS สำหรับการศึกษาโครงสร้างระดับนาโนเมตรโดยเทคนิค Small Angle X-ray Scattering (อยู่ระหว่างการทดสอบใช้งาน)
BL3.2a: PES สำหรับการศึกษาโครงสร้างอิเล็กทรอนิกส์บริเวณพื้นผิวโดยเทคนิค Photoelectron Emission Spectroscopy (อยู่ระหว่างการทดสอบใช้งาน)
BL3.2b: PEEM สำหรับการถ่ายภาพพื้นผิวโดยเทคนิค Photoemission Electron Microscopy (อยู่ระหว่างการทดสอบใช้งาน)
BL4.1: IR Spectroscopy and Imaging สำหรับการศึกษาองค์ประกอบของสารโดยเทคนิค Infra Red Spectroscopy และ Infra Red Microimaging (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
BL4: Time-resolved XAS (Bonn-SUT-SLRI) สำหรับการศึกษาโครงสร้างระดับอะตอมโดยเทคนิค X-ray Absorption Spectroscopy (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
BL5: XAS (SUT-NANOTEC-SLRI) สำหรับการศึกษาโครงสร้างระดับอะตอมโดยเทคนิค X-ray Absorption Spectroscopy (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
BL6: DXL สำหรับการผลิตชิ้นส่วนเชิงกลขนาดจิ๋วโดยเทคนิค Deep X-ray Lithography (เปิดให้บริการ)
BL7.2: MX สำหรับการศึกษาโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่โดยเทคนิค Macromolecular Crystallography (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
BL8: XAS สำหรับการศึกษาโครงสร้างระดับอะตอมโดยเทคนิค X-ray Absorption Spectroscopy (เปิดให้บริการ)
สำหรับระบบลำเลียงแสง IR และ MX ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างนั้น สถานีทดลองใช้งานได้โดยใช้แหล่งกำเนิดแสงในห้องทดลอง และเปิดให้บริการแก่ผู้ใช้บริการแล้วเช่นกัน
สำหรับรายละเอียดระบบลำเลียงแสงและสถานีทดลองต่างๆ รวมถึงการติดต่อผู้จัดการระบบลำเลียงแสง โปรดดูในหน้า web ของแต่ละระบบลำเลียงแสง


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก